คำว่าแม่ เป็นคำที่เราคุ้นเคยมาตั้งแต่เกิด และนอกจากจะเป็นคำที่มีความหมายทางใจต่อลูกทุกๆ คนแล้ว ยังมีความหมายที่ล้ำลึกมากมายและน่าเหลือเชื่อ…ซ่อนอยู่ในคำเรียกบุพการีที่แสนสั้นว่า #แม่
นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า “แม่” ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง และนี่คือ คำเรียกชื่อ “แม่” แต่ละชนชาติ แต่ละภาษา
คนไทย จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “แม่”
ภาษาลาว เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “อีแม”
ภาษาอังกฤษ จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “มาเธอร์ (Mother)” หรือ “มัม (Mom)”
ภาษาสันสกฤต จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มารดา”
ภาษาเยอรมัน จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “มุสเธอร์ (Mutter) หรือ มาม้า (Mama)”
คนจีน จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “ม่าม้า” (แต้จิ๋ว) จีนกลางอ่านว่า “มาหมะ”
คนแขก จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มามี้”
คนฝรั่งเศส จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มามอง (Maman)”
คนสเปนและอิตาลี จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาเดร (Madre)”
คนแถบสแกนดิเนเวีย (เดนมาร์ก, นอร์เวย์, สวีเดน) จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มัวร์ (Mor, Moder)”
คนญี่ปุ่น จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “โอก้าซัง”
คนเกาหลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “ออมม่า”
คนเวียดนาม เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “แม๊” ออกเสียงใกล้เคียงภาษาไทยมาก
คนโปรตุเกส เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “แมะ (Mae)”
คนเขมร เรียกผู้ให้กำเนิดว่า ว่า “กุนแม”
ภาษามาเลย์ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาม่า”
ภาษาอาหรับ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า ว่า “อุมมี”
ชนเผ่าปกากะญอ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “โม่”
ชนเผ่าอาข่า เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “อะมา”
ภาษาบาลี จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาตา”
ถึงแม้ว่าคำเรียกจะไม่เหมือนกัน แต่เชื่อว่าแต่ละคำเรียกนั้นมีความหมายที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้เป็นลูกเสมอ
ZAZIO #ซาซิโอ #เสื้อยืดคอกลมเกรดพรีเมี่ยม #เสื้อยืดคอกลม #เสื้อยืดคอกลมชาย#SuperSoft #UltraSoft